RSS

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เขาพนมรุ้ง

\











ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น





ประวัติ

ตัวปราสาทหินพนมรุ้งปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18


จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน
ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ

องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน



การเดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ในการเดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถเลือกเดินทางได้ 2 เส้นทางออกจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ถ้าเดินทางโดยใช้บริการรถโดยสารจากขนส่งบุรีรัมย์ ก็ให้ขึ้นรถโดยสารสายบุรีรัมย์-จันทบุรี พอถึงที่หมู่บ้านตะโก แล้วจึงลงจากรถ จากนั้นจะมีรถสองแถววิ่งไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือไม่ก็นั่งวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ได้

สะพานนาคราช
ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา

ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย




ตัวปราสาท

ศิวลึงค์ประดิษฐานภายในห้องครรภคฤหะปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตร สูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17

ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์เท่านั้น





ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตามลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารสองหลังก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18


ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น พระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระราม (ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษีเป็นต้น



ปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤๅษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า โรงช้างเผือก

บริเวณรายรอบ
ชุมชนที่เคยตั้งอยู่บริเวณเขาพนมรุ้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เพราะนอกจากมีบารายหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งใช้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของปากปล่องภูเขาไฟเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่บนเขาอยู่แล้ว ที่เชิงเขามีบารายอีก 2 สระ คือสระน้ำหนองบัวบารายที่เชิงเขาพนมรุ้ง และสระน้ำโคกเมืองใกล้ปราสาทหินเมืองต่ำ สระน้ำบนพื้นราบเบื้องล่างภูพนมรุ้งนี้รับน้ำมาจากธารน้ำที่ไหลมาจากบนเขา นอกจากนี้ยังมีกุฏิฤๅษีอยู่ 2 หลัง เป็นอโรคยาศาลที่รักษาพยาบาลของชุมชนอยู่เชิงเขาด้วย

บริเวณที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งอาจเคยเป็นที่ตั้งของศาสนพื้นถิ่นมาก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นเป็นปราสาท ที่มีความใหญ่โตงดงาม สมกับเป็น กมรเตงชคตวฺนํรุง ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปราสาทพนมรุ้ง อันหมายถึงองค์พระศิวะในศาสนาฮินดูที่กษัตริย์ขอมทรงนับถือ การเปลี่ยนสถานที่เคารพพื้นถิ่นให้เป็นปราสาทกินตามแบบคติขอม น่าจะเกี่ยวเนื่องกับ การเปลี่ยนลักษณะการเมืองการปกครอง ที่ผู้นำท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์ขอมโดยใช้ระบบความเชื่อมทางศาสนา วัฒนธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

การบูรณะและการเปิดอุทยาน
กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) คือ รื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย ซึ่งปราสาทหินพนมรุ้งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75

ต่อมาได้ดำเนินการบูรณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จนเสร็จสมบูรณ์ และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี พ.ศ. 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน

ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปี มีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี โดยในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน

เหตุการณ์ทุบทำลาย

นายสันทัด จัตุชัย ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ และเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจสอบความเสียหายคืนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนเข้าทุบทำลาย รูปปั้นทวารบาลและสัตว์พาหนะ รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายศิวลึงค์ โดยลักษณะเป็นการทำลายแขนเทวรูปก่อน แล้วจึงนำแขนเทวรูปไปทุบกับใบหน้าสัตว์พาหนะอื่นๆ โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์อิสระกล่าวว่า การใช้ข้อมือของของทวารบาลเป็นตัวทำลาย นั้นเพราะน่าจะเป็นวัสดุแข็งที่พอจะทำลายสิงห์ ทำลายนาค หรือโคนนทิได้ คงไม่ใช่เรื่องของรายละเอียดที่จะต้องเน้นว่าเอามือทวารบาลไปทุบ

ดุสิต ทุมมากรณ์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ระบุว่า เทวรูปที่ถูกทำลายเสียหายมีของจริงเพียงเศียรนาค 4 เศียร จาก 11 เศียร นอกนั้นเป็นเทวรูปที่จำลองขึ้นแต่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยวันที่ 26 พฤษภาคม นายช่างศิลปกรรม อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมโดยเริ่มจาก ซ่อมหัวสิงห์ 2 ตัว ที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของปราสาทก่อน โดยวัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมคือ เหล็กไร้สนิม ที่ใช้เป็นแกนยึด ส่วนวัสดุประกอบคือ ยางพารา หินทรายเทียม สีฝุ่น ขุยมะพร้าว ปูนปลาสเตอร์ และเชื่อมประสานด้วยอิพ็อกซี โดยกรมศิลปากรระบุว่าจะใช้เวลา 1 เดือนในการบูรณะปฏิสังขรณ์



การเดินทาง :

จากกรุงเทพฯ - อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 330 กิโลเมตร

ทางรถยนต์ :
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี เมื่อถึงตัวเมืองสระบุรีแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

... ระยะทางจากห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต - สระบุรี ประมาณ 75 กิโลเมตร
... ระยะทางจากสระบุรี - ทางเข้าน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ประมาณ 35 กิโลเมตร
... ระยะทางจากสระบุรี - ทางเข้าเขื่อนลำตะคอง ประมาณ 89 กิโลเมตร
... ระยะทางจากสระบุรี - แยกเข้าถนนสาย 24 ประมาณ 103 กิโลเมตร

แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ( มิตรภาพ ) ที่ตัวเมืองสระบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 89 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าเขื่อนลำตะคอง ถ้าเลี้ยวซ้ายท่านจะเข้าไปยังตัวเขื่อน ไม่ต้องเลี้ยว ให้ท่านขับตรงไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร จะพบกับป้ายบอกทางถนนสาย 201 กับ ถนนสาย 24 ให้ท่านใช้ถนนสาย 24 ( ที่ป้ายเขาจะเขียนว่า อำเภอโชคชัย ) จากนั้นเมื่อท่านเข้าถนนสาย 24 เรียบร้อยแล้ว ให้ขับตรงไปอีกประมาณ 139.4 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวา เข้าถนนสาย 2117 จากนั้นขับตรงไปประมาณ 5.6 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าถนนสาย 2221 จากนั้นขับตรงไปประมาณ 5.5 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวา แล้วขับตรงไปประมาณ 900 เมตร ตรงนี้ถ้าท่านเลี้ยวขวา จะเข้าไปยัง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ( ประมาณ 300 เมตร จะถึงลานจอดรถอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ) ถ้าตรงไปจะไปปราสาทหินเมืองต่ำ ให้ท่านขับตรงไปประมาณ 800 เมตร จะถึงลานจอดรถอีกแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จากลานจอดรถให้ท่านขับตรงไปอีกประมาณ 2.3 กิโลเมตร จะพบทางแยก ถ้าเลี้ยวขวาจะไปปราสาทเมืองต่ำ แต่ถ้าตรงไปจะสามารถไปอำเภอประโคนชัย และจังหวัดสุรินทร์ได้ ตรงแยกนี้ให้ท่านเลี้ยวขวามือ แล้วขับไปตามเส้นทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ท่านจะถึง ปราสาทเมืองต่ำ ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของท่าน แต่ท่านจะต้องจอดรถไว้ที่ลานจอดรถ ด้านซ้ายมือของท่าน ตรงกันข้ามกับปราสาทเมืองต่ำ

...รถเก๋งไปได้นะครับ ...เป็นทางราดยางตลอดเส้นทาง..

...สอบถามเส้นทางได้จาก 08-1629-3354...โจ ( เจ้าของเว็บหามานานดอทคอม )

...หรือจะสอบถามเส้นทางจากอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้โดยตรง






ตำนานเรื่องเล่า

ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นศาสนสถานสำคัญบนยอดเขาของนครขอมโบราณนาม วนัมรุงปุระ ตั้งอยู่เชิงเขาพนมรุ้งวนัมรุงปุระ เป็นเมืองใหญ่และมีคามสำคัญมากเมืองหนึ่งบนเส้นทางปราสาทหินโบราณ จากปราสาทหินพิมายไปถึงเมืองพระนคร เมืองแห่งนี้ล่มสลายลงในยุคขอมสิ้นอำนาจและไม่เคยกลับคืนมาเป็นเมืองอีกเลย คงปล่อยให้ศาสนสถานอันสวยงามที่ยังสร้างไม่เสร็จแห่งนี้เปลี่ยวร้าง ปรักหักพังไปตามกาลเวลา



ปราสาทหินพนมรุ้ง น่าจะได้รับการจัดสร้างโดย นายช่างฝีมือเยี่ยมของขอม การรังวัดจัดสร้างต้องทำอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยเฉพาะการจัดสร้างแนวประตูปราสาท ที่ต้องวางแนวขนานกับยอดเขา เล็งให้ศูนย์กลางประตูอยู่ในแนวเดียวกับพระอาทิตย์ขึ้นตรงกันตลอดแล้วทำเครื่องหมายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นขนานกับยอดเขา จึงสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวตลอดทั้ง 22 ประตู และเกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้เพียงวันเดียวในรอบปี
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นใหม่ด้วยการผนวกเอาตำนาน การสร้างปราสาทหินพนมรุ้งรวมเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนท้องถิ่นจัดเป็นงานเทศกาลวันเดียวที่มีเนื้อหาและมีจุดสำคัญของงานต่อเนื่องกันตลอดทั้งวัน นับตั้งแต่การรอชมพระอาทิตย์ขึ้น การทำบุญตักบาตร ขบวนแห่จำลองขบวนเดินทางของเจ้าเมือง การเฉลิมฉลองสมโภชปราสาท และการจัดเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมการแสดงแสงเสียง ประกอบการแสดงในพื้นที่โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ในช่วงกลางคืน

วันเวลาจัดพิธีกรรม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี




รูปแบบประเพณี
เป็นงานประเพณีวันเดียวที่มีจุดเด่นเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งวัน เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นการเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้เป็นแนวเดียวกันตลอดทั้ง 22 ประตู ปัญหาสำคัญคือ ทุกปีจะมีผู้เฝ้าชมมากแต่ประตูปราสาทเล็กทำให้ชมได้ลำบาก หากไม่ต้องการเบียดชม ก็มีการทำบุญตักบาตรบนยอดเขาในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการเดินทางของเจ้าเมืองวนัมรุงปุระนำขบวนนำขบวนข้าราชบริพารขึ้นมานมัสการองค์ปราสาท การนำชมตัวปราสาท และตกค่ำจะเป็นการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำพร้อมชมแสงเสียงประกอบการแสดงพื้นในที่ลานกว้างหน้าปราสาทท่ามกลางแสดงจันทร์และแสงดาว





จุดเด่นของพิธีกรรม
มีจุดเด่นของพิธีกรรมเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงเช้าและมีช่วงพักในเวลากลางคืน นับเป็นงานเทศกาลที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายกิจกรรมติดต่อกันอย่างน่าสนใจยิ่ง

รายการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
วันแรกของการเดินทาง(วันเดินทาง)
ช่วงเช้า กรุงเทพฯ -บุรีรัมย์ แวะเที่ยวชมปราสาทหินพิมายพนมวัน ปราสาทหินพิมาย
ช่วงค่ำ เดินทางถึงจังหวัดบุรีรัมย์ เตรียมตัว เตรียมอาหาร สำหรับเดินทางแต่เช้ามืดในวันรุ่งขึ้น
วันที่สอง (ชมงานเทศบาล)
ช่วงเช้า ตื่นแต่เช้ามืดเดินทางไปชมพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดเขา ชมขบวนแห่ พิธีบวงสรวงสมโภช ชมปราสาท อาหารกลางวัน พักผ่อน
ช่วงบ่าย ตอนค่ำเข้าร่วมรับประทานอาหารค่ำ ชมการแสดงแสงเสียง
วันที่สาม (เดินทางกลับ กทม.)
ช่วงเช้า แวะชอปปิ้งเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
เดินทางกลับถึงกทม.





สินค้าที่ระลึก
ผ้าฝ้ายพุไธสง ปลาจ่อมประโคนชัย ขาหมูนางรอง กุนเชียง ไก่ย่างลำปลายมาศ ผักกาดหวานอบบ้ำผึ้งที่กระสัง และกุ้งอร่อยที่สตึก

โรงแรมที่พัก
รหัสทางไกล 044 ในช่วงงานเทศกาลดโรงแรมในเมืองบุรีรัมย์ มักจะเต็มอยู่เสมอ จึงควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้า และจงที่พักแต่เนิ่น ๆ
โรงแรมเทพนคร อำเภอเมือง 612504, 611132
ไทยโฮเตล อำเภอเมือง 612504,611740
โรงแรมวงษ์ทอง อำเภอเมือง 612540, 6200860-2
พนมรุ้งรีสอร์ท อำเภอนางรอง 631231

ร้านอาหาร
ห้องอาหารพลอย อำเภอเมือง 613747
ห้องอาหารพรเพ็ญ อำเภอเมือง 611553
ก๋วยเตี๋ยวเป็ดบุรีรัมย์ อำเภอเมือง 611689
ห้องอาหารอาซุง อำเภอเมือง 614286
ลักษณาขาหมู (ขาหมูนางรอง) อำเภอนางรอง 631158, 631774
วนัมรุง ปั๊ม ปตท. อำเภอนางรอง 6313176

สอบถามรายละเอียด
สำนักงาน ททท. นครราชสีมา โทร(044) 213666, 213030



ที่มา

www.thai-tour.com

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พัฒนาการของ Internet


ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด

การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่

มหาวิทยาลัยยูทาห์

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส

สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว

งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ

การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้




จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย




พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว

หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง





ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้

ที่มา

http://freewebs.com/

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Internet

<




อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผลที่มาของ Internetอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)

นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้นค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน

จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ http://www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ http://www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้นDARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า http://www.(World Wide Web)

แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996) ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ประโยชน์ของ Internet

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้

2. เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้

3. การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol )

ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง

4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้

5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม

7. การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต

8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง



ที่มา
http://www.bloggang.com/
http://www.thaigoodview.com/







หากกล่าวถึงการท่องอินเทอร์เน็ต สิ่งพื้นฐานที่มีความจำเป็น และมีความใกล้ชิดกับผู้ใช้มากที่สุด ก็เห็นจะเป็น browser
Browser คืออะไร? เหตุไฉนใครก็กล่าวถึง



อธิบายอย่างง่ายว่า Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม


โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer และ Nescape Navigator แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างคลายคลึงกัน แต่หน้าตาที่ผิดเพี้ยนกัน คือ ตำแหน่งเครื่องมือ และชื่อเรียกเครื่องมือ อาจทำให้คุณอาจเกิดการสับสนบ้าง หากว่าคุณใช้ Browser ค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นประจำ วันหนึ่งคุณอาจสนใจหยิบ Browser ของอีกค่ายหนึ่งมาลองใช้งานดู ความสนุกในการท่องเว็บไซต์ของคุณอาจถูกบั่นทอนลง เพราะความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือ

เครื่องมือพื้นฐานประจำ Browser คุณต้องใช้



Internet Explorer
1. ปุ่มถอยหลัง (Back) ซึ่ง Internet Explorer เสริมความสะดวกในการใช้งานด้วยการแสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่คุณได้เข้าไปเยี่ยมชมมาเมื่อครู่ ทำให้คุณสะดวกในการเลือกกลับไป โดยไม่จำเป็น ต้องคลิ๊กหลายครั้งให้เมื่อย โดยคลิกที่ลูกศรเล็กๆ ที่อยู่ด้านขวาของปุ่มกด



2. ปุ่มเดินหน้า (Forward) การทำงานเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับปุ่มถอยหลัง

3. ปุ่มหยุด (Stop) เป็นการสั่งให้ Browser หยุดอ่านเว็บเพจหน้าที่คุณกำลังเรียกใช้

4. ปุ่มเรียกใหม่ (Refresh) ถือเป็นปุ่มที่ใช้กันประจำ Browser หากคุณมีปัญหาในเชื่อมต่อเว็บไซต์ จนทำให้ Browser เกิดอาการตีรวน แสดงข้อความ บนหน้าจอว่า "The Page can not be displayed ..." คุณไม่ต้องตกใจว่าเครื่องของคุณเกิดปัญหา คุณเพียงแต่คลิ๊กที่ เท่านั้น หรือในการที่กำลังใช้อินเทอร์เน็ตแล้วผลที่ได้บนหน้าจอไม่ครบ หรือ การเรียกเว็บเพจที่เคยเปิดใช้งานมาแล้วและมีการปรับปรุงข้อมูลใหม่

5. ปุ่มกลับสู่มาตุภูมิ (Home) ใช้เมื่อคุณต้องการที่จะกลับไปยังเว็บไซต์แรก ซึ่งมักจะตั้งไว้ที่เว็บไซต์ของค่ายผู้สร้าง Browser คุณกำหนดการทำงานของปุ่มนี้ได้ โดยเข้าไปเปลี่ยนแปลงที่ Edit > Internet Option คลิ๊กเลือก General ปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ Home page : address ตามประสงค์

a href="http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/itbrowser/picture/bar20ie2.gif">

6. ปุ่มค้นหา (Search) ใช้เรียกเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

7. ปุ่มโปรดปราน (Favorites) ใช้สำหรับสะสมเว็บไซต์ที่คุณโปรดปราน

8. ปุ่มประวัติ (History) หากคุณต้องการดูว่าคุณได้ไปท่องที่เว็บไซต์ไหนมาแล้วบ้าง โปรดคลิ๊กที่นี่

9. ปุ่มสถานี (Channels) เรียกดูสถานีที่คุณได้สมัครเป็นสมาชิกไว้

10. ปุ่มเต็มตา (Fullscreen) เพื่อให้ Browser แสดงเว็บเพจให้เต็มหน้า








11. ปุ่มส่งจดหมาย (Mail) เป็นการเรียกโปรแกรม Outlook Express เพื่อช่วยในการส่งจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (E-mail)

12. ปุ่มสั่งพิมพ์งาน (Print) ซึ่งจะเป็นการสั่งพิมพ์ทันทีโดยไม่แสดง Printer Dialog (สั่งพิมพ์ตามค่ากำหนดใน default printer) นอกจากนี้เรายังสามารถสั่งพิมพ์เว็บเพจที่ link จากเว็บเพจที่คุณสั่งพิมพ์ลงไปได้ 1 ชั้น และยังสามารถสั่งพิมพ์เว็บเพจที่แบ่งเป็นเฟรมได้อีกด้วย

13. ปุ่มแก้ไข (Edit) คุณสามารถเรียกแก้ไขเว็บเพจที่กำลังแสดงผลอยู่ทางหน้าจอได้ทันที โดยจะเรียกโปรแกรม FrontPage Express ซึ่งติดมาพร้อมกับ Browser หรืออาจเรียก โปรแกรมเวอร์ชั่นอื่นขึ้นมาแทน หากว่าเครื่องของคุณติดตั้งเวอร์ชั่นที่สูงกว่า

!! อย่าเพิ่งตกใจ หากหน้าจอคุณมีการแสดงผลที่ต่ำกว่า 800x600 จะมองไม่เป็นปุ่มที่ 12 และ


14. แถบติดต่อ (Link Toolbar) เป็นแถบเก็บข้อมูลเว็บเพจที่ต้องการไปบ่อย ๆ ทำให้สะดวกในการใช้งาน

15. แถบตำแหน่งเว็บไซต์ (Address) สำหรับพิมพ์ตำแหน่งของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ โดยปกติจะนำหน้าด้วย http://www.ชื่อเว็บไซต์.domainname



Nescape Navigator
1. ปุ่มถอยหลัง (Back) หากคุณต้องการให้แสดงรายชื่อเว็บไซตืที่ไปมาแล้ว ให้กดปุ่มนี้แช่ไว้

2. ปุ่มเดินหน้า (Forward) การทำงานเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับปุ่มถอยหลัง

3. ปุ่มติดต่อใหม่ (Reload) เพื่อเชื่อมเว็บเพจอีกครั้งในกรณีที่ไม่สามารถแสดงผลทางหน้าจอ หรือแสดงผลไม่ครบ

4. ปุ่มกลับสู่มาตุภูมิ (Home) เพื่อกลับสู่เว็บเพจแรก




5. ปุ่มค้นหา (Search) โดย Nescape Navigator ได้ร่วมกับ Lycos,Yahoo,Exite,Infosee,Hotbot,WebCrawler,AOL โดยจะทำงานร่วมกันบน NetFind
6. ปุ่มสั่งพิมพ์งาน (Print)

7. ปุ่มรักษาความปลอดภัย (Security) เพื่อเรียกดูระบบการรักษาความปลอดภัยต่างๆ

8. ปุ่มหยุด (Stop) เป็นการสั่งให้ Browser หยุดอ่านเว็บเพจหน้าที่คุณกำลังเรียก


9. แถบกดเพื่อไม่แสดงแถบรายการต่างๆ เป็นการซ่อนแถบรายการเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ และหากต้องการใช้งานก็ให้กดที่แถบกดอีกครั้ง



10. Personal Tool เป็นแถบรายการส่วนตัวของผู้ใช้ ใช้ในการจัดหมวดหมู่เว็บไซต์

11. แถบรายชื่อสถานี (Channels) ซึ่งเป็นการเข้าสู่สถานเว็บของค่าย Netscape

12. แถบตำแหน่งเว็บไซต์ (Address)

สำหรับพิมพ์ตำแหน่งของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ โดยปกติจะนำหน้าด้วย http://www.ชื่อเว็บไซต์.domainname




ที่มา

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/itbrowser/browser.html